บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การฆ่าตัวตาย


คอลัมน์ข่าวออนไลน์ของ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ลงข่าวเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2554  เรื่อง “ร้อยเรื่องราว ล้านเรื่องเล่า ป้องกันการฆ่าตัวตาย” ไว้  มีเนื้อข่าว ดังนี้

สมาคมสายใยครอบครัวและกรมสุขภาพจิตกับมุลนิธิเครือข่ายครอบครัว จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการฆ่าตาย”ร้อยเรื่องราว ล้านเรื่องเล่า ป้องกันการฆ่าตัวตาย” ที่หอศิลป์กรุงเทพ (ตรงข้ามห้างมาบุญครอง) ระหว่างวันเสาร์อาทิตย์ที่ 6-7 สิงหาคม

เพื่อเปิดมุมมองงดงามของชีวิตที่พลิกฟื้นความหวัง หลังจากผ่านความทุกข์และความสูญเสียของผู้ป่วย,ครอบครัวและสังคม
      
ที่มาของโครงการป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลก ต้องการความมีส่วนร่วมกันแก้ไขอย่างเข้าใจและยอมรับโรคนี้

ตั้งแต่ระดับครอบครัว-ชุมชนโรงเรียนกับวัดและสังคมคนทำงาน ซึ่งนำไปสู่การดูแลรักษาโรคที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ จนกระทั่งสามารถคืนกลับสู่ชีวิตครอบครัวและการงานได้
      
ในประเทศไทยมีสถิติฆ่าตัวตายปีละ 4,500-5,000 ราย หรือสถิติโลกทุกๆ 40 วินาทีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน

 จนกระทั่งองค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 10 กันยายนของทุกปีเป็น”วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก(World Suicide Prevention Day)”
      
งานนี้ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.อภิชัย มงคล กล่าวว่า“โดยหลักตัวเลขฆ่าตัวตายของไทยจะสูงประมาณ 5 .7-5.8ต่อแสนคน เพราะมีวิกฤตตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เช่น เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่

จังหวัดที่มีตัวเลขฆ่าตัวตายมากคือ ลำพูน เชียงราย เชียงใหม่ ปีละ 300-400-500 คน และส่วนใหญ่ผู้ชายจะฆ่าตัวตายสำเร็จกว่าผู้หญิงถึงสามเท่า และเป็นคนในวัยรุ่นและวัยทำงานคือ 15-35 ปีนั่นเอง

แต่ขณะนี้ก็ลดเหลือ 200 กว่าคน ซึ่งก็ยังไม่ได้ทำให้เกิดความสบายใจ ถือเป็นเรื่องที่ต้องหาทางป้องกันการฆ่าตัวตายให้ได้

โดยระบบสาธารณสุขก็พัฒนาขึ้น มีแบบคัดกรองความเครียด ซึมเศร้า ฆ่าตัวตายและมีวิธีเข้าไปดูแลเป็นรูปธรรม มีพยาบาลจบจิตเวชระดับปริญญาโทและจบตรีที่อบรมเพิ่มเติมทั่วประเทศก็สามารถช่วยดูแลได้”
       
หมอสมรัก ชูวานิชวงศ์ ซึ่งเป็นจิตแพทย์ผู้ก่อตั้งสมาคมสายใยครอบครัวมากว่า 10 ปี มีบทบาทบุกเบิกให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวชแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย

จนถึงปัจจุบันได้ขยายกิจกรรมเปิดกว้างสู่สังคม ได้เล่าให้ฟังว่า ปีนี้กิจกรรมรณรงค์การป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีหลากหลายกิจกรรม ที่จะเปิดพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ในทุกมิติ โดยมีเนื้อหาสะท้อนปัญหาของผู้ป่วยและญาติที่มีความทุกข์อยู่ในวังวนของโรคทางจิตเวช

โดยทำเป็นสปอตหนังโฆษณาในทีวีและวิทยุ ทำเป็นบทละครเวที หนังสั้น บทเพลง”ไม่ได้เกิดมาแพ้” และ งานเขียนหนังสือ”บ้านของคนบ้า” โดยเชิญชวนให้ไปชมกิจกรรมเหล่านี้ได้ที่หอศิลป์กรุงเทพในวันที่ 6-7 สิงหาคมนี้
      
ท่ามกลางสังคมส่วนใหญ่และสื่อมวลชนที่ยังมีทัศนคติเชิงลบต่อการฆ่าตัวตาย ขาดความเข้าใจอาการป่วยจากโรคจิตเวช คนป่วยขาดการเข้าถึงการรักษา จนมีอาการกำเริบ อาละวาด ทำร้ายตนเองและผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ตกเป็นข่าวใหญ่หน้า 1 ที่ถูกเขียนขึ้นอย่างไร้ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน และสังคมไม่ได้เรียนรู้วิธีเฝ้าระวังและป้องกันเหตุนี้ได้เลย
      
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “คุณหมอเบิร์ด” อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ซึ่งเพิ่งกลับจากการเรียนและทำงานโครงการ”จิตเวชชุมชน”ที่ประเทศแคนาดาสองปี ได้เล่าให้ฟังเชิงเปรียบเทียบกับสื่อต่างประเทศว่า
      
“ที่แคนาดา เวลามีกรณีคนฆ่าตัวตาย เราจะไม่เจอเป็นข่าวใหญ่ แต่จะหนังสือพิมพ์จะลงเป็นข่าวในกรอบเล็กๆ ท้ายเล่มเหมือนประกาศคนหาย

หมอมองว่า เพราะเขาเคารพสิทธิส่วนตัว ที่ผู้ตายและญาติควรได้รับการคุ้มครองตรงนี้ แต่ที่สำคัญคือสังคมเขาเข้าใจว่าเหตุมาจากความเจ็บป่วยของโรคนี้ และรณรงค์ให้คนป่วยได้รับการรักษา

เป็นการส่งเสียงบอกสังคมของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่มีประสบการณ์อยู่กับปัญหา หมอสนับสนุนให้สื่อไทยสร้างสรรค์ทำนองนี้ เพื่อสร้างสมดุลพื้นที่ข่าวให้สังคมมีทางออกแก้ไขปัญหานี้อย่างถูกต้องเหมาะสม”
      
วันนี้อย่าปล่อยให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายต้องโดดเดี่ยว ร่วมกันมองปัญหา-ฟังเขาพูด-และใส่ใจดูแลพูดคุยกัน จนเขากล้าที่ก้าวเข้าสู่กระบวนการรักษาโรคนี้ และมีโอกาสกลับคืนสู่ครอบครัวที่รักและสังคมปกติสุขได้

ในฐานะที่ผมมีน้องชายฆ่าตัวตายในบ้านของผมเอง ขณะที่ผมไปสอนปฏิบัติธรรมอยู่ใกล้ๆ คือ สอนอยู่ในมหาวิทยาลัย  และเป็นวิทยากรสอนวิชาธรรมกาย ผมมี “ความเห็นต่าง” ไปจากบรรดาแพทย์ที่มีชื่อด้านบน

การฆ่าตัวตายสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ฆ่าตัวตายมาก่อนเมื่อชาติที่ผ่านมา และกลุ่มที่ฆ่าตัวตายครั้งแรกในชาตินี้

กลุ่มที่เคยฆ่าตัวตายมาก่อน เมื่อในอดีตชาตินั้น มีเรื่องนิดๆ เรื่องหน่อยๆ พวกนี้ก็ฆ่าตัวตายแล้ว เพราะ มันเกิดจากผลของกรรมเก่า

กรณีการฆ่าตัวตายของคนกลุ่มนี้  เมื่อเราอ่านบทในข่าว เราจึงงงๆ ว่า “เรื่องแค่นี้ ไม่น่าฆ่าตัวตาย

สำหรับ กลุ่มที่จะเริ่มฆ่าตัวตายในชาตินี้ ก็ต้องมี แต่สาเหตุที่ต้องทำให้ถึงกับฆ่าตัวตายนั้น ก็คงหนักหนาสาหัส  ไม่งั้นคงเลือกทางอื่นไปแล้ว

แนวทางในการแก้ไขของบรรดาจิตแพทย์สมัยใหม่ ท่านจะทำอย่างไรก็ทำไป  แต่ผมเห็นว่า กรณีการป้องกันการฆ่าตัวตายนั้น มีแนวทางแก้ไขด้วยวิชาธรรมกายได้

ขอเล่าประสบการณ์ของคุณลุงการุณย์  บุญมานุชก่อน ท่านเล่าให้ฟังว่า 

ครั้งหนึ่ง ลุงไปเห็นผู้ชายคนหนึ่ง ปีนขึ้นไปบนเสาสูง  เอามีดแทงตัวเอง จึ้กๆๆ  คุณลุงก็ทำวิชา คือ เอาใจของคุณลุงเข้าไปที่จมูกขวา ตาขวา จอมประสาทกลางศีรษะ แล้วก็ฐานที่ 7

เข้าไปหมุนขวาในหมุนขวาที่ใจของบุคคลนั้น  แป๊บเดียว มารมันออกจากกายของผู้ชายเลย  ถ้าไม่ออกมันจะถูกดับ  

พอมารออกไปแล้ว  ผู้ชายคนนั้น ก็ทิ้งมีด แล้วปีนลงมาจากเสา  รอดตาย

คุณลุงเล่าให้ฟังอีกว่า 

ตัวของเรา ปกติเรารัก เราถนอมไม่ยอมให้เจ็บปวด  มีแผลเราก็พยายามรักษา  การที่เอามีดมาแทงตัวเองอยู่นั้น  เป็นเพราะมารมันเข้าสิง  มารมันไม่ได้เจ็บไปด้วย  เวลาเราแทงตัวเอง

จะเห็นว่า สาเหตุของการฆ่าตัวตายนั้น “มาร” มีส่วนอยู่ด้วย  น่าจะเป็นองค์ประกอบหลักเสียด้วย  

การที่เราฆ่าตัวตายมาก่อน การที่เราทำกรรมมากๆ  จึงทำให้มารเข้าไปครอบงำจิตใจ ชักจูงให้ฆ่าตัวตาย

ดังนั้น ในการป้องกันการฆ่าตัวตายนั้น  พ่อแม่พี่น้องควรจะปลูกฝังให้บรรดาลูกหลานเรียนวิชาธรรมกายตั้งแต่เด็ก และให้ประพฤติปฏิบัติให้เป็นประจำ

ผลบุญของการฝึกวิชาธรรมกายก็จะทำให้บุคคลดังกล่าว ไม่ฆ่าตัวตายไปเอง ไม่ว่าจะมีปัญหาหนักหนาสาหัสประการใด

ตัวอย่างก็คือ น้องชายของผมเอง

น้องชายของคนนี้ชื่อ นิวัติ โกมลฑา  มันมีเชื้อ HIV ติดทินเนอร์ สารพัดโรค ก่อนตายนั้น มันดมทินเนอร์จนเป็นอัมพฤกษ์ 

โรคแบบนี้ มันเคยเป็นมาก่อน แล้วก็หาย  ผมจึงไม่เอาไปส่งโรงพยาบาล  แต่คราวนี้มันเป็นมาก (ในความคิดของมัน)  คือ มันขยับตัวได้ครึ่งเดียว 

เมื่อผมเอาสายไฟผูกไว้ที่หน้าต่างๆ ใกล้ที่นอนของมัน เพื่อให้มันโหนตัวลุกขึ้นได้ เวลาจะไปไหนมาไหน 

ถ้ามันลุกขึ้น มันก็ไปทำอะไรได้ทุกอย่างตามปกติ  แต่ทำได้ข้างได้

วันที่มันฆ่าตัวตายใน ผมจัดอบรมการปฏิบัติธรรมที่คณะของผม โดยบังคับแบบขู่เข็ญนักศึกษาที่เรียนวิชาภาษาไทยกับผมให้เข้าไปเรียน

กลับมาถึงบ้านพบว่า ไอ้แจ้มันถูกคอตายแล้วที่บันได มันฉลาดในการตายพอสมควร คือ มันเอาสายไฟมาผูกคอมัน แล้วมัดกับราวบันได้  ส่วนมันก็ทิ้งตัวมาตามบันได

ด้วยความเป็นอัมพฤกษ์ มันจึงไม่สามารถปีนไปผูกเชือกบนคานบ้านได้  มันก็ตายได้สมกับความฉลาดของมัน

เมื่อเผาเสร็จเรียบร้อย ผมก็ให้ลุงช่วยสอนมัน 

คนที่ฆ่าตัวตายต้องสอนถึงกายธรรมถึงจะไปสวรรค์ได้  คนที่ตายด้วยสาเหตุอื่นๆ สอนแค่เห็นดวงธรรมก็สามารถขั้นสวรรค์ได้แล้ว

ชาติต่อๆ ไป ก็ไม่ต้องมาฆ่าตัวตายอีก...





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น