บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อนันตจักรวาลของกลศาสตร์ควอนตัม






กลศาสตร์ควอนตัมเกิดเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1900 โดย Max Planck โดยอธิบายว่า แสงเป็นก้อน ที่เรียกว่า quantum แต่ไม่มีใครเชื่อเท่าไหร่นัก เพราะ นักวิทยาศาสตร์ในยุคนิวตันเชื่อว่า แสงเป็นคลื่นแต่เพียงอย่างเดียว

ในเมื่อแสงเป็นคลื่น ก็จะเป็นอนุภาคเป็นก้อนๆ ไม่ได้

อีก 25 ปีต่อมา เมื่อ Heisenberg ใช้เทคนิคเมทริกซ์ (matrix) ศึกษา แล้วพบว่า อิเล็กตรอนเป็นอนุภาค

ส่วน Schroedinger ใช้สมการอนุพันธ์ย่อย (partial differential equation) แล้วพบว่า พบว่า อิเล็กตรอนเป็นคลื่น

กลศาสตร์ควอนตัมจึงเป็นที่ยอมรับ เพราะ กลศาสตร์นี้พบว่า แสงเป็นคลื่นก็ได้ เป็นอนุภาคก็ได้ คือ บางทีก็เป็นคลื่น  บางทีก็เป็นอนุภาค (ดูภาพแรกด้านบน)

กลศาสตร์ควอนตัมนี้ ไม่สามารถใช้ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ในยุคของนิวตันอธิบายได้เลย เพราะ ขัดการให้หลักของทฤษฎีเป็นอย่างยิ่ง 

ในทฤษฎีของยุคนิวตันนั้น ต้องมีความแม่นยำแน่นอน แต่กลศาสตร์ควอนตัมต้องใช้ หลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle) ของ Heisenberg

Bohr ซึ่งเชี่ยวชาญกลศาสตร์ควอนตัมมาก บอกว่า ถ้านักวิทยาศาสตร์อยากจะศึกษาว่า แสงเป็นคลื่น เมื่อจัดอุปกรณ์แล้ว แสงก็จะแสดงความเป็นคลื่นดังที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ 

แต่ถ้านักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาว่า แสงเป็นอนุภาค  แสงก็จะตัวเป็นอนุภาคให้เห็น

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัมในฐานะที่เป็นชาวพุทธศาสนาแบบผมก็คือ คุณสมบัติที่เรียกว่า ความพัวพัน (entanglement)

ความพัวพัน (entanglement) ของกลศาสตร์ควอนตัมเป็นดังนี้ 

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษากลศาสตร์ควอนตัมนั้น สามารถนำอนุภาค 1 ตัว แล้วแบ่งตัว ปฏิอนุภาคให้ห่างออกไปไกลๆ กันได้  อนุภาคแต่ละอนุภาคจะมีปฏิอนุภาคอยู่ในตัวของมัน

อิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน ต่างก็มีปฏิอนุภาคทั้งสิ้น 

เมื่อแบ่งอนุภาคกับปฏิอนุภาคออกจากกันได้แล้ว  ถ้านักวิทยาศาสตร์หมุนตัวอนุภาคไปทางหนึ่ง ตัวปฏิอนุภาคมันจะหมุนไปอีกทางหนึ่งในทางตรงกันข้ามทันที  (ดูภาพที่สอง ด้านบน)

การห่างระหว่างตัวอนุภาคกับปฏิอนุภาคนั้น  ถึงแม้จะห่างกันเป็นล้านๆ ปีแสง มันก็จะทำอาการต่างกันทันที

นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า มันต้องทำอาการต่างกัน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เข้าใจว่า อนุภาคกับปฏิอนุภาคมันสื่อสารกันอย่างไร  

การสื่อสารของอนุภาคกับปฏิอนุภาคนั้น มีความเร็วมากกว่าความเร็วแสงเสียด้วย

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบว่า มีอะไรที่มีความเร็วมากกว่าแสง  จึงพากันงุนงงสงสัยอยู่จนกระทั่งถึงบัดนี้

ความที่อนุภาคในทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมสามารถแสดงอาการที่หลายลักษณะ ความจริงของกลศาสตร์ควอนตัมก็ต้องมีหลายลักษณะไปด้วย

ซึ่งจะแตกต่างจากความจริงของวิทยาศาสตร์ยุคนิวตัน ซึ่งความจริงต้องมีหนึ่งเดียวเท่านั้น

Huge Everett ที่ 3 แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ในสหรัฐอเมริกาได้เสนอความเห็นว่า

ถ้าระบบควอนตัมมีความเป็นไปได้หลายรูปแบบ (จำนวนมากถึงอนันต์) ความจริงก็มิได้หลายรูปแบบ (จำนวนมากถึงอนันต์) เช่นกัน

ดังนั้น เวลานักฟิสิกส์ทดลองวัดได้ค่าๆ หนึ่ง และค่าอื่นจำนวนนับอนันต์ จะปรากฏอยู่ในพหุภพ (multiverse) ที่อยู่ซ้อนกัน

ตัวนักฟิสิกส์เอง ก็แยกตัวเป็นนักฟิสิกส์จำนวนมากนับอนันต์ ที่ต่างก็ไม่ตระหนักในตัวของกันและกัน โดยมีค่าที่วัดได้แตกต่างกัน

มุมมองของ Everett ที่เป็น “Many Worlds” หรือ “Parallel Universe” นี้ ได้พยายามเสริมความไม่สมบูรณ์ของคำอธิบายของ Bohr แต่ก็ไม่สำเร็จ

เพราะนักฟิสิกส์ส่วนมากเชื่อว่ามัน เป็นการอธิบายแนว metaphysics ที่เหนือจริงเกินไป

(ที่มา : สุทัศน์ ยกส้าน ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมกับความจริง)

ปัจจุบันนี้ นักฟิสิกส์เชื่อเรื่อง “พหุภพ (multiverse)” กันมากขึ้น มีการศึกษากันมากขึ้น

พหุภพดังกล่าวนั้น สอดคล้องกับอนันตจักรวาลของศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง  และแตกต่างจากเอกภพ (universe) ของวิทยาศาสตร์แบบนิวตันอย่างตรงกันข้ามเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี  “อนันตจักรวาล” ของศาสนาพุทธนั้น แตกต่างจาก พหุภพ (multiverse) อย่างมากมายมหาศาล

อนันตจักรวาล” ของศาสนาพุทธนั้น เป็นความรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ได้จากญาณทัสสนะของพระองค์ 

อนันตจักรวาล” มีความรู้ที่แน่นอน ตายตัว คือ มีจักรวาลอย่างที่เราอยู่นี้มากมายมหาศาล แบบนับจำนวนไม่ถ้วน

แต่ละจักรวาลก็มีแผนผังแน่นอนตายตัวแบบเดียวกัน  คนที่ไปเกิดอยู่จักรวาลใดก็อยู่จักรวาลนั้น

พหุภพ (multiverse) เกิดจากนักวิทยาศาสตร์ตอบปัญหาปรากฏการณ์ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้  จึง “เดา/สันนิษฐาน” ว่า ภพหรือจักรวาลนั้น ไม่น่าจะมีภพเดียว หรือจักรวาลเดียว แต่ควรจะมีมากมาย

คนในจักรวาลของเรานี้ ก็จะไปเกิดในทุกจักรวาล  ในจักรวาลอื่นๆ คนเดียวกัน อาจจะมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันได้

ความเชื่อดังกล่าวของนักวิทยาศาสตร์นั้น จะหาดูได้ตามหนังซีรี่ย์  หรือหนังฮอลลีวู้ด





2 ความคิดเห็น:

  1. ควอนตัม ฟิสิกส์ เป็นความรู้ ที่น่าสนใจครับ และผมเคยเสนอความคิดว่า มันสามารถเชื่อมโยงถึงเรื่อง.. จิตใจได้ด้วยครับ

    ตอบลบ
  2. แต่ผมเชื่อว่าเอกภพมีเพียง 1 และกว้างใหญ่ไพศาลถ้าสมมติว่ามีใครสักคน(ไม่ใช่มนุษย์) อยากจะรู้ว่าเราอยู่ที่ไหนหรือตรงไหนในเอกภพแห่งนี้ผมคิดว่าคงเหมือนการหาเข็มสักอันบนดาวพฤหัสฯ..หมายความว่าเรารู้ว่าเรามีอยู่จริงแต่ไม่มีทางที่ใครจะหาเราเจอ ?? ถ้า....???

    ตอบลบ